สุขภาพดีด้วยตนเองง่ายๆ กับนาฬิกาชีวิต

การใช้เวลาตามนาฬิกาชีวิต ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ให้มี 3ส. 3อ. 1น. และภาระงานตามความรับผิดชอบ ด้วยการ มีสติ สมาธิ กำกับตลอดเวลา

01.00-03.00 น. ขณะที่คนนอนหลับ ตับทำหน้าที่ผลิตน้ำดีเก็บไว้ในถุงน้ำดี ส่งไปลำไส้เล็กช่วยย่อยพวกไขมันให้สลายผสมกับน้ำ ตับอ่อน ผลิตน้ำย่อยอินซูลินช่วยย่อยน้ำตาล ดังนั้นถ้าตับอ่อนพิการ สร้างอินซูลินน้อย น้ำตาลจะเหลือในกระแสโลหิตเกิดเป็นโรคเบาหวานขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ซึ่งจะมีรสหวาน มดตอมปัสสาวะนั้นเป็นอาการแสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ในช่วงเวลา นี้เป็นช่วงเวลาที่ตับทำงานหนักที่สุด

03.00-05.00 น. ขณะที่คนกำลังนอนหลับเวลา 05.00 น. ส่วนใหญ่ตื่นนอน เป็นช่วงเวลาเช้าตรู่ อากาศดี ปอดทำงานมีประสิทธิภาพสูงยิ่งได้ออกกำลังกายในช่วงเวลานี้ด้วยก็ยิ่งจะได้รับออกซิเจน หายใจเข้าไปในปอดได้มากขึ้นสุขภาพร่างกายก็จะดีขึ้นหายใจออกขับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารพิษ

18.00-19.00 น. ทานอาหารเย็นหรืออาหารว่างเป็นมื้อเบาที่สุด ยังเป็นช่วงเวลาของการทำงานของไตเด่นอยู่นอกจากกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งทำงานเบาๆ เท่านั้น

19.00-22.00 น. เป็นเวลาพักผ่อน ผ่อนคลาย สบายอารมณ์ ทำวัตรเย็น สวดมนต์ เจริญสมาธิแผ่เมตตา ฟังหรืออ่านหรือสนทนาธรรมกับผู้รู้อาจเป็นพระภิกษุหรือผู้ทรงคุณวุฒิอื่นก็ได้ ในช่วงเวลานี้อาจมีงานมงคลหรืออวมงคลในสังคม ช่วงเวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของหัวใจ หลังจากตรากตรำงานมาทั้งวัน 22.00 น. แปรงฟัน ดื่นน้ำ 1 แก้ว ปัสสาวะแล้ว

สุขภาพดีด้วยตนเองง่ายๆกับนาฬิกาชีวิต

05.00 น. เป็นเวลาตื่นนอนของคนส่วนใหญ่ สูดลมหายใจเข้า-ออก 3 ครั้ง กระตุ้นปอดและถุงลมให้ขยายตัว แปรงฟัน ล้างหน้าเพื่อให้ฟันและใบหน้าสะอาด เสร็จแล้วดื่มน้ำ 2-3 แก้ว

05.00-07.00 น. เป็นเวลาการทำงานของลำไส้ใหญ่ หลังจากดื่มน้ำ 2-3 แก้ว น้ำจะไหลไปยังกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ทำงาน ทำให้น้ำไล่กากอาหารที่เหลือจากการย่อยแล้วขับถ่าย ออกมาเป็นอุจจาระ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากดื่มน้ำทำให้ถ่ายอุจจาระสะดวกท้องไม่ผูกเกิดเป็นนิสัย ป้องกันร่างกายดูดซึมของเสียและสารพิษต่างๆ ต่อด้วยออกกำลังกายก็จะทำให้มีความสมดุลของร่างกายและจิตนอกจากนั้นการออกกำลังกายจะช่วยให้ปอดและหัวใจทำงานดี ด้วย 07.00-08.00 น. เป็นเวลาอาบน้ำและทานข้าวเช้าซึ่งควรเป็นมื้อหนัก กระเพาะอาหาร จะทำหน้าที่อาหารมื้อเช้าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญ เพราะกระเพาะอาหารจะย่อยได้

08.00-12.00 น. ปฏิบัติภารกิจชีวิตประจำวัน เป็นการทำงานของสมองและม้ามต่อ เป็นระยะเวลาเดินทางไปทำงานหรือไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาแล้วแต่ภารกิจของแต่ละคนซึ่งย่อมมีการใช้พลังงาน ช่วงเวลานี้สมองทำงานมีประสิทธิภาพมากโดยสมองทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางใหญ่ของระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมและปรับสภาพการทำงานของระบบประสาท ผสมผสานและเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ในทุกส่วนของร่างกาย สารสื่อประสาทซีโรโทนินซึ่งจะช่วยการนอนหลับ การผ่อนคลาย มีความสุข สงบ ป้องกันและรักษาอาการซึมเศร้าได้

12.00-13.00 น. เป็นเวลาหยุดพักการปฏิบัติภารกิจเพื่อพักผ่อนและรับประทานอาหารกลางวัน อาหารมื้อหนักอีกมื้อหนึ่ง อวัยวะที่ทำงานในช่วงเวลานี้ ได้แก่ กระเพาะอาหารและหัวใจ ถ้าร่างกายไม่ได้สารอาหาร หัวใจจะทำงานลำบาก พบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจมักเกิดหัวใจวายก่อนเที่ยงหรือหลังจากกินอาหารเที่ยงแล้ว หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ การดูแลสุขภาพหัวใจเป็นเรื่องสำคัญ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการเน้นผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน และโปรตีน 1 ส่วน การออกกำลัง

13.00-16.00 น. เป็นช่วงเวลาปฏิบัติภารกิจประจำวัน เป็นเวลาการทำงานของสมองและลำไส้เล็กเด่นที่สุด สมองทำหน้าที่เช่นเดียวกับช่วงเวลา 08.00 - 12.00 น. เมื่อลำไส้เล็ก   ย่อยอาหารแล้วก็ส่งไปเลี้ยง ส่วนต่างๆ ของร่างกาย สารอาหาร ที่เหลือที่ย่อย แล้วก็เก็บไว้ที่ม้ามอีกลำไส้เล็กทำงานโดยย่อยเปลี่ยน รูปอาหารที่ได้รับจากตอนเช้าเป็นพลังงานทั้งหมด    

16.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาหยุดพักงานตามภารกิจประจำวันขณะเดียวกัน เป็นเวลาที่ของเสียจากการแปรรูปอาหารที่ลำไส้เล็กจะเกิดขึ้นและจะขับออกทางไตมาที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะทำงานหนักที่สุด เพื่อขับกรดและของเสียออกจากร่างกาย หลังจากร่างกายทำงานจะเกิดกรดแลคติค กินอาหารจะเกิดกรดยูริค คร่ำเคร่งกับงานทั้งวัน จะเกิดสารกรดอะดรีนาลีนและสารเคมีต่างๆ

17.00-18.00 น. เป็นช่วงพักผ่อนจากงาน กลับบ้าน อาบน้ำ สังสรรค์ในครอบครัว ไตทำหน้าที่เด่นที่สุดในการขับถ่ายของเสียในช่วงนี้